วัฒนธรรมการดื่มชานั้นมีอยู่ทั่วโลกและมีมาเนิ่นนาน ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้จากในละครเรื่องบุพเพสันนิวาสที่อ้างอิงมาจากบันทึกลาลูแบร์ของฝรั่งเศสในสมัยอยุธยา น้ำชาก็ยังใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อต้อนรับแขกอีกด้วย
พวกชาวกรุงถือว่าเป็นมารยาทผู้ดี อันจำเป็นที่จะต้องนำน้ำชามาเลี้ยงแขกผู้มาเยือน (ถึงบ้าน) เขาเรียกมันว่า ฉ่า (Tcha) เหมือนอย่างคนจีน - มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ค.ศ.1688 (เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา)
สำหรับคนที่เพิ่งหันมาดื่มชาคงจะสงสัยว่าจะเริ่มยังไงดี จริงๆแล้วการชงชามีสไตล์การชงหลักๆ อยู่ 2 วิธีคือ วิธีแบบตะวันตกกับวิธีแบบกังฟู วิธีแบบตะวันตกนั้นจะเป็นวิธีแบบที่ฝรั่งใช้ โดยการใส่ชาลงไปในที่กรองชาแล้วแช่ลงไปในแก้วหรือเป็นการชงในกาใหญ่ๆไว้สำหรับชายามบ่าย วิธีแบบกังฟูจะเป็นการชงแบบดั้งเดิมของชาวจีน โดยจะใช้กาน้ำชาหรือถ้วยแก้ว บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับวิธีการชงแบบตะวันตกกัน
จุดเริ่มต้นของชายามบ่าย (Afternoon tea)
ประวัติ afternoon tea เริ่มต้นในช่วงปี ค.ศ. 1840 เมื่อตะเกียงแก๊สเริ่มมีการใช้งานในกลุ่มชนชั้นสูงและการรับประทานอาหารมื้อดึกเป็นสิ่งที่แสดงถึงความดูดีมีระดับ เพราะเริ่มมีไฟใช้จึงทำให้สามารถทานอาหารได้ดึกมากยิ่งขึ้น ในสมัยนั้นกลุ่มชนชั้นสูงจะทานข้าวเย็นในเวลาเกือบ 21.00 น. ซึ่งในยุคนั้นหากเปรียบเทียบกับประชาชนคนธรรมดาแล้วนั้น คนธรรมดาจะใช้ชีวิตแค่เช้าถึงเย็น เนื่องจากไม่มีไฟจากตะเกียงแก๊สเหมือนชนชั้นสูง
Duchess of Bedford นามว่า Anna Maria Russell ทนไม่ได้ที่จะต้องรอตั้งแต่บ่ายถึง 21.00 น. เพื่อทานอาหารเย็น ในระหว่างบ่ายเธอรู้สึกหิวมาก ตอนประมาณ 5 โมงเย็นเธอจึงขอน้ำชาพร้อมกับเค้กและขนมปังเพื่อคลายความหิวและรองท้องก่อนมื้อเย็น และความหิวของหญิงสาวชาวอังกฤษนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของ afternoon tea หลังจากนั้นเธอก็ชวนเพื่อนๆ มาดื่มชากันที่บ้านและจากนั้นไม่นานกิจกรรมยามบ่ายนี้ก็ได้แพร่กระจายไปสู่คนทุกชนชั้นในประเทศอังกฤษ และอาณานิคมทั่วโลก
ชายามบ่ายแบบดั้งเดิมจะอยู่ในช่วงบ่าย 2 จนถึงประมาณ 5 โมงเย็น สามารถกินแทนข้าวเที่ยงหรือข้าวเย็นได้เลย ในปัจจุบันความนิยมการดื่มชายามบ่ายก็ได้กลับมาในโรงแรม คาเฟ่ และร้านน้ำชาที่เปิดใหม่กันมากขึ้น และในแบบดั้งเดิมนั้นชาดำอัสสัมจะเป็นชาที่นิยมนำมาเสิร์ฟ ซึ่งจะให้มาพร้อมกับนม น้ำตาล หรือ มะนาว โดยจะเสิร์ฟคู่กับอาหารกรุบๆกริบๆ อย่างแซลมอนรมควัน ครีมชีส และขนมปังต่างๆ
การเติมน้ำตาลและนมเพื่อเพิ่มรสชาติของชา บางทีทำไมเราถึงเห็นบางคนใส่นมก่อนใส่ชา ก็เป็นเพราะว่านมที่เย็นจะช่วยลดอุณหภูมิของตัวน้ำชา และช่วยป้องกันการแตกของแก้วชา เนื่องจากเวลาที่ถ้วยชาเจอน้ำร้อนจัดๆ ก็อาจจะแตกได้
เมื่อเทียบกับการชงชากังฟูแล้วพิธีชงชายามบ่ายไม่ได้โฟกัสที่ตัวชาสักเท่าไหร่ ชาดำแบบไหนก็เสิร์ฟได้ ชายามบ่ายจะโฟกัสกับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การจัดโต๊ะ และอาหารจุกๆ จิกๆ การได้จัดชายามบ่ายให้เพื่อนๆ หรือเข้าร่วมวงสนทนาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงในชนชั้นกลางถึงสูงในยุคสมัยนั้น
เตรียมชงชาสไตล์ตะวันตก
การชงสไตล์ตะวันตกนั้นจะใช้ปริมาณใบชาแค่นิดเดียวกับน้ำปริมาณมากและแช่ชาไว้ประมาณ 3-5 นาที วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์อะไรมากมาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการชงชาแบบนี้คือ ชาในถุงกรองชาตามห้างสรรพสินค้า
อุณหภูมิของน้ำ
ชาแต่ละประเภทจะใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน แม้บางทีประเภทเดียวกันก็ใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกันได้ เราควรยึดตามคำแนะนำในการชงของซองชานั้นๆ หรือลองดูไกด์ไลน์นี้ได้เลย
ชาดำ >> 90º - 95º C
ชาอู่หลง >> 85º - 95º C
ชาเขียว >> 80º C
ชาขาว >> 85º C
ระยะเวลาการแช่
2 - 5 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของชา และความชื่นชอบส่วนตัว) หลังจากแช่ครั้งแรกเสร็จแล้ว เราสามารถแช่ซ้ำได้อีก 2 - 3 รอบ อย่าพึ่งทิ้งใบชาหลังจากแช่รอบแรกนะครับ
สิ่งที่ต้องใช้
กาน้ำชา(250-500ml) / แก้วกาแฟ (250ml)
ที่กรองชา (ลูกตุ้มแช่ชา ช้อนกรองชา) สำหรับใช้กับแก้วกาแฟ หรือ กาน้ำชาจะมีตัวกรองในตัว
ใบชา 3g - 6g (สำหรับน้ำ 250ml - 500ml)
น้ำเปล่า 250ml - 500ml
วิธีชงชา
อุปกรณ์อาจจะดูจีนหน่อยแต่กระบวนการเป็นแบบตะวันตกที่ใช้ชาน้อยและระยะเวลาแช่ที่นานขึ้น
STEP 1
ตวงชา 3 กรัม หากไม่มีเครื่องชั่งให้ตักชาประมาณ 1 ช้อนชาแทน ถ้าเป็นกาขนาดใหญ่ให้ใช้ 6 กรัม
ภาพ
STEP 2
ต้มน้ำร้อนและล้างกาน้ำชาด้วยน้ำร้อนและเทออก เพื่อให้กามีความร้อนใกล้เคียงกับน้ำที่เราจะใช้ในการแช่ชา วิธีนี้จะทำให้อุณหภูมิของน้ำไม่ต่างไปมาก
STEP 3
ใส่ใบชาลงไปในกา
STEP 4
เติมน้ำร้อนลงไป
STEP 5
เช็คดูว่าใบชาเปียกน้ำทั้งหมด ถ้ายังมีส่วนที่แห้งอยู่ให้เขย่าเบาๆ และจับเวลา 3-5 นาที
STEP 6
จากนั้นให้เทน้ำชาใส่กาพักชาหรือนำใบชาออกมา ไม่ควรแช่ต่อเพราะถ้าหากแช่ทิ้งไว้จะมีทำให้มีรสชาติขมฝาดออกมา (การแช่ชาทิ้งไว้ = เกิดการสกัดรสชาติต่อทำให้มีรสชาติฝาดขม และอาจทำให้ท้องผูกได้)
STEP 7
เสิร์ฟชา จากนั้นสามารถแช่ชารอบใหม่ได้ โดยเพิ่มเวลาขึ้นอีก 1-2 นาที
เพียงเท่านี้เราก็ได้ชารสชาตืที่ไม่ขมฝาดแล้ว
สั่งใบชาและอุปกรณ์
Shopee: https://shope.ee/1LDyUjxfyW
Lazada: https://s.lazada.co.th/l.WGkp
Sources
Comments